วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555

กติกามวยสากล (อาชีพ)

กติกามวยสากล (อาชีพ)

กีฬามวยสากล ขณะนี้กำลังอยู่ในวามสนใจของประชาชนชาวไทยมาก เกือบทันๆ กับกีฬามวยไทยซึ่งเป็นกีฬาประจำชาติไทยของเราถึงกับถูกเชื้อเชิญให้เข้าร่วมเป็นภาคีในสหพันธ์มวยแห่งภาคตัวออกไกล ระหว่าง ไทย ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ไดมีการส่งนักมวยของชาติตน ออกไปแข่งขัน ณ ประเทศสมาชิกในสหพันธ์เพื่อชิงตำแหน่งรุ่นต่างๆ ตามแบบสากล ทั่วโลก ทั้งให้เกียรติแก่นำมวยไทยโดยจัดให้เข้าอันดับของโลกด้วย นักมวยไทยคนหนึ่งเคยได้รับเกียรติอันยิ่งใหญ่ ให้ได้เข้าแข่งขันชิงตำแหน่งผู้ชนะเลิศของโลกถึง 3 ครั้ง ภายในระยะเวลาไม่ถึง 2 ปี ขณะนี้สหพันธ์มวยแห่งภาคตะวันออกไกล ยังได้เป็นสมาชิกของสมาคมมวยโลก (W.B.A.) ด้วย
 
ต่อมานักมวยไทยอีกคนหนึ่ง ได้รับเกียรติที่ยิ่งใหญ่ที่สุที่ปรากฏในประวัติ ของนักมวยชาติไทย โดยเป็นผู้ชนะเลิศมวยสากลรุ่นฟลายเวทของโลก นักมวยไทย อีกมากคนจึงหันความสนใจ มุ่งมาทางกีฬาประเภทสากลนี้เป็นจำนวนไม่น้อย และก็ได้รับผลสำเร็จในการเข้าอันดับของสหพันธ์มวยภาคตะวันออกไกลหลายคน ทั้งยังได้รับนักมวยสากลฝีมือดีจากสมาคมมวย สมัครเล่นแห่งประเทศไทยอีกมาก แม้จะได้มีการร่างกติกาการแข่งขันชกมวยสากล (อาชีพ) พิมพ์ออกใช้ปฏิบัติการ แข่งขันและได้แก้ไขต่อเติมตามความวิวัฒนาการของวงการมวยสากลหลายครั้งแล้วก็ตาม ผลที่ปรากฏก็ยังมีสิ่งที่ควรแก้ไขอีก จึงเห็นเป็นการสมควรที่จะวางกฎข้อบังคับและกติกาการแข่งขันมวยสากล (อาชีพ) ขึ้นเพื่อใช้เป็นระเบียบการแข่งขันต่อไป
 
ร๊อคกี้ มาร์เซียโน อดีตแชมป์โลกรุ่นเฮฟวี่เวทผู้ยิ่งใหญ่ได้รับเชิญจากอาจารย์เจือ จักษุรักษ์
ขึ้นทำหน้าที่กรรมการเกียรติยศ ระหว่าง รักศักดิ์ วายุภักดิ์ กับศักดิ์น้อย ส.โกสุม
เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2512 เมื่อคราวเดินทางมาชมมวยไทยที่ราชดำเนิน
 
สำหรับ บริษัท เวทีราชดำเนิน จำกัด จนกว่ารัฐบาลจะได้วางระเบียบควบคุมข้อบังคับ และกติกาการแข่งขันอันเป็นมาตรฐานทั่วไป จึงได้พิจารณาแก้ไขอีกตามสมควร สำหรับระเบียบข้อบังคับและกติกาการแข่งขัน ฉบับนี้ได้แก้ไขโดยระเบียบข้อบังคับ และกติกาการแข่งขันชกมวยสากล (อาชีพ) ของประเทศฟิลิปปินส์ (Boxing Rules of Regulations of The Philippines) และระเบียบ ข้อบังคับ และกติกาการแข่งขันชกมวยสากล (อาชีพ) ของสภาควบคุมการแข่งขันชกมวยอาชีพของประเทศอังกฤษ ค.ศ. 1929 (Rules Regulations of The British Boxing Board of Control 1929) เข้าเทียบเคียง เพื่อให้เข้ากับระเบียบเละข้อบังคับ ของสหพันธ์มวยภาคตะวันออกและสมาคมมวยโลก ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคี และสมาชิกอยู่ด้วย หากเวทีใดในประเทศเห็นเหมาะสม ประสงค์ที่จะใช้เพื่อการแข่งชัน ณ ที่ของตน ก็ชอบที่จะนำไปใช้ได้โดยเสรี
 
เวทีราชดำเนิน ไม่ได้จัดทำกติกามวยไทย (อาชีพ) และมวยสากล (อาชีพ) ขึ้นมาจำกัดใช้อยู่ ณ เวทีราชดำเนินเพียงแห่งเดียว แต่ได้จัดทำขึ้นมาเพื่อให้เวทีอื่นๆ ทั่วประเทศไทยนำไปใช้ด้วย จนกว่ารัฐบาลจะได้วางระเบียบ ข้อบังคับ และกติกาการแข่งขันอันเป็นมาตรฐาน” ขึ้นมา
 
เป็นที่น่าสังเกตว่า ตลอดระยะเวลา ตั้งแต่ พ.ศ. 2488 จนถึงพ.ศ.2542 ไม่มีกติกาการแข่งขันอันเป็นมาตรฐานจากภาครัฐบาลออกมาประกาศใช้เลย จนกระทั่งพระราชบัญญัติกีฬามวย ได้ประกาศใช้เมื่อเดือนธนวาคม พ.ศ. 2542 จึงได้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการกำหนดมาตรฐานกีฬามวยขึ้นมา และคณะอนุกรรมการชุดดังกล่าวได้จัดทำกติกาการแข่งขันออกประกาศใช้ในอีก 2 ปีต่อมา



ที่มา มวยไทย  muaythaionline.co.thhttp://www.muaythaionline.co.th/index.aspx

1 ความคิดเห็น:

  1. อยากรู้ กฏกติกา กติกาการแข่งขัน มวยสากลอาชีพ พอจะมีไหมครับ ผมต้องทำรายงาน ส่งอาจารย์

    ตอบลบ